2021-12-17 06:50
จำนวนครั้งที่อ่าน : 3,358
เจ้าบ้าน
การเป็นเจ้าบ้านในทะเบียบนบ้าน อาจไม่ใช่เจ้าของบ้าน เว้นแต่เจ้าบ้านในทะเบียนบ้านจะเป็นผู้สร้างบ้าน ถ้าไม่มีหลักฐานชี้ชัด เจ้าของที่ดิน คือ เจ้าของบ้านที่แท้จริง แต่...การปล่อยให้ผู้อื่นอาศัยอยู่บนบ้านและที่ดิน โดยไม่มีสัญญาเช่า ถ้าเกิน 10 ปี เขาอาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ เพื่ออ้างกรรมสิทธิ์ ในที่ดินและบ้านได้....ดังนั้นควรทำสัญญาเช่าไว้....ถ้าให้เจ้าของรื้อบ้าน เขาไม่มีสิทธิขอค่ารื้อถอน....คือถ้าไม่รื้อถอน ก็ต้องฟ้องขับไล่ ถ้าไม่รื้อถอน เจ้าพนักงานบังคับคดี สามารถรื้อได้เอง โดยเจ้าบ้าน(ลูกหนี้) ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย แต่คนทั่วๆไป ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ถ้าเจ้าของที่ดินไม่จ่ายค่ารื้อถอน เจ้าของบ้านก็ไม่ต้องรื้อ จึงเป็นการเข้าใจผิด ที่เล่าสืบต่อกันมาแบบผิดๆ ครับ
..กฎหมายที่ใช้อ้างอิง...ป.วิแพ่ง...
มาตรา ๒๙๖ เบญจ ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทรัพย์นั้นด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น และให้มีอำนาจขนย้ายสิ่งของออกจากสิ่งปลูกสร้างที่มีการรื้อถอนนั้นด้วย ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและขนย้ายสิ่งของ ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้เสีย
ในการรื้อถอนให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณ บริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนนั้น
เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ เว้นแต่จะได้กระทำโดยมีเจตนาร้ายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
วัสดุก่อสร้างที่ถูกรื้อถอนรวมทั้งสิ่งของที่ขนย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้าง ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้รับคืนไป เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจเก็บรักษาไว้ หรือขายแล้วเก็บเงินสุทธิไว้แทนตัวทรัพย์นั้น ถ้าเจ้าของมิได้เรียกเอาทรัพย์หรือเงินนั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่มีประกาศกำหนดการรื้อถอนให้ทรัพย์หรือเงินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน
ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างนั้นถูกยึดในการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขายทอดตลาดสิ่งปลูกสร้างนั้น แล้วเก็บเงินสุทธิที่เหลือจากหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมไว้แทน
I AM HERE 8899 พร้อมให้บริการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างทั่วไทย สอบถามรายละเอียดบริการเพิ่มเติม ติดต่อทีมงานของเรา 098-698-2551 Line ID : iamhere8899